วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความจริงของชีวิต

หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด
เรื่องสำคัญยิ่งใหญ่อีกเรื่องหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือเรื่องหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า The Law of Karma and Rebirth
ความเข้าใจเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดจะช่วยแก้ปัญหาชีวิตได้ทุกแง่ทุกมุม ทำให้ไม่ต้องน้อยใจในชะตาชีวิตของตนและไม่ริษยาความสุขของผู้อื่น เพราะได้เห็นแจ้งแล้วว่า ความสุขทุกข์ รุ่งเรือง หรือล้มเหลวในชีวิตของแต่ละคนนี้เป็นผลรวมแห่งกรรมของตน หรือกรรมแห่งหมู่คณะของตนเป็นต้น
เรื่องกรรม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ความแตกต่างกันในเรื่องอุปนิสัยใจคอของคน แม้อยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวกันและมีมารดาบิดาเดียวกัน ได้รับการอบรมอย่างเดียวกัน  
ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเรื่องกรรม ทำให้บุคคลมีน้ำอดน้ำทน มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ท้อถอย มีความเพียรสั่งสมกรรมดีขยาดต่อกรรมชั่ว ไม่ตีโพยตีพายเมื่อผิดหวัง และไม่ระเริงหลงในเมื่อประสบผลดี เราะมารู้แจ้งว่าผลทุกอย่างย่อมมีมาเพราะเหตุ
เรื่องกรรมช่วยให้บุคคลกล้าเผชิญชีวิตอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว สามารถมองเห็นแง่ดีแม้ของความผิดหวัง หรือส่งที่เรียกกันว่าโชคร้าย เพราะแจ่มแจ้งว่า มันเป็นการใช้หนี้กรรมอย่างหนึ่ง ทำให้เรือชีวิตเบาขึ้น ทำให้แล่นไปข้างหน้าได้รวดเร็วขึ้น เหมือนบุคคลมีหนี้สิน เมื่อได้ใช้หนี้ไปเสียบ้าง ย่อมทำให้สบายใจขึ้น เบาใจขึ้น
หลักกรรมจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีการเกิดใหม่หรือการเวียนว่ายตายเกิด เพราะมีปัญหาชีวิตหลายอย่างที่ไม่อาจเข้าใจได้ ถ้าปราศจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือที่เรียกว่า สังสารวัฏเช่นปัญหาเรื่องคนดีบางคนมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน และคนชั่วบางคนมีชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญเป็นต้น ปัญหานี้จะเป็นเรื่องค้างโลกถ้ากฎแห่งกรรมและการเกิดใหม่ไม่เข้ามาช่วยแก้
อนึ่ง ช่วงชีวิตเพียงช่วงเดียวของบุคคลสั้นเกินไปไม่เพียงพอพิสูจน์กรรมที่บุคคลทำไว้แล้วได้ทั้งหมด การเกิดใหม่จะช่วยอธิบายกรรมในอดีตของคนได้อย่างดีที่สุด ดังนั้นชีวิตมนุษย์จึงเป็นสนามหรือเวทีสำหรับทดลองแรงกรรม ว่าใครได้ทำกรรมอะไรไว้มา น้อย เบาบาง หรือรุนแรงเพียงใด
                ด้วยประการฉะนี้ การศึกษาให้รู้แจ้งในเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีผลเป็นความสุข สงบแก่ผู้ศึกษาเรียนรู้ มีประโยชน์ในการพัฒนาชีวิตจิตใจให้สูงขึ้นร่มเย็นและทำให้เห็นว่าการเกิดของเรามีความหมาย ไม่ใช่เกิดมาโดยบังเอิญ มีชีวิตอยู่อย่างหลักลอยปล่อยตัวและตายไปอย่างน่าสมเพชเวทนา
                เรื่องกรรม และการเวียนว่ายตายเกิดทำให้บุคคลหายงมงายหายตื่นเต้นต่อความขึ้นลงของชีวิต ช่วยคลี่คลายความข้องใจในความสับสนของชีวิต เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งเพื่อชีวิต เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา ความเรียนรู้และทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งเพื่อชีวิตของตนเองจะได้ดีขึ้นและทำผู้ใกล้ชิด เช่น บุตรหลาน หรือบริวารชนให้มีความเข้าใจในปัญหาชีวิตของตน
                ครู ผู้สอนวิชาศาสนาหรือวิชาอื่นใดก็ตามควรย้ำให้นักเรียนเข้าใจและเชื่อมั่นในเรื่องหลักกรรมและสังสารวัฎเพราะอันนี้คือพื้นฐานอันจะทำให้ศีลธรรมมั่นคงในจิตใจของเยาวชนเหล่านั้น
                ต่อไปนี้เป็นพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7 แห่งบรมจักรีวงศ์)
สำหรับพระพุทธศาสนานั้น ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าสิ่งที่เราควรจะสอนให้เข้าใจแลบะให้เชื่อมั่นเสียตั้งแต่ต้นทีเดียวคือสิ่งที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา นั่นคือ วัฏฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิดและกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาเพราะหนทางปฏิบัติของพุทธศาสนาก็เพื่อให้พ้นจากวัฏฏสงสาร อันเป็นความทุกข์แต่สิ่งที่ดีประเสริฐยิ่งนั้นคือความเชื่อในกรรม แต่จะสอนแต่เรื่องกรรมอย่างเดียว ไม่สอนเรื่องวัฏฏสงสารด้วยก็ไม่สมบูรณ์
                ความเชื่อในกรรม ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นของประเสริฐยิ่งควรเพาะให้มีขึ้นในใจของคนทุกคน และถ้าคนทั้งโลกเชื่อมั่นในกรรมแล้ว มนุษย์ในโลกจะได้รับความสุขใจขึ้นมาก เป็นสิ่งที่ทำให้คนขวนขวายทำแต่กรรมดีโดยหวังผลที่ดี เรื่องวัฏฏสงสารและกรรมนี้เป็นของต้องมีความเชื่อ เพราะเป็นของที่น่าเชื่อกว่าความเชื่ออีกหลายอย่าง
                ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า ถ้าคนเราเชื่อกรรมจริง ๆ แล้ว ควรจะได้ความสุขใจไม่น้อย โดยที่ไม่ทำให้รู้สึกท้อถอยอย่างไร
                ข้าพเจ้าเห็นว่า เราควรพยายามสอนเด็กให้เชื่อมั่นในกรรมเสียแต่ต้นทีเดียว ยิ่งให้เชื่อได้มากท่าไรยิ่งดี ควรให้ฝังเป็นนิสัยทีเดียว
ความหมายของการสอนที่ควรรู้
การสอน หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ไปสู้ผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
ระบบการสอน หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการจัดการเรียนการสอนอย่างมีขั้นตอน มีระบบระเบียบที่จะทำให้การสอนนั้นบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์การสอน หมายถึง ยุทธวิธีในการที่จะคิดให้ได้หลักการเรียนการสอน กระบวนการ วิธีการและเทคนิคที่นำมาปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการสอน
หลักการสอน หมายถึง ความเชื่อ ปรัชญา ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับการสอน ซึ่งอาจนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการวางรูปแบบ กระบวนการ และวิธีการสอน
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการเรียนการสอนที่จัดขึ้นตามปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวความคิด และหรือความเชื่อต่างๆ โดยอาศัยวิธีการสอน และเทคนิคการสอนต่างๆ เข้ามาช่วยให้สภาพการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ
วิธีการสอน หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ บรรลุเป้าหมาย วิธีการสอนแต่ละวิธีย่อมประกอบไปด้วยลักษณะอันเป็นจุดเด่นเฉพาะของวิธีการนั้นๆ และกระบวนการอันเป็นหลักในการดำเนินการตามวิธีการนั้น
เทคนิคการสอน หมายถึง กลเม็ดต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อช่วยให้วิธีการหรือกระบวนการใดๆ ในการจัดการเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (วัฒนาพร , 2532)

การเรียนการสอน

ความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

            มีคำที่สำคัญที่จะต้องเข้าใจความหมายอย่างกระจ่างชัดเจน คือ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนดังนี้
            การเรียนหรือการเรียนรู้  การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม (พิมพันธ์  เดชะคุปต์, 2542) ในแดนวคิดดังกล่าวนี้ ออซูเบล (Ausubel,1993)ได้อธิบายว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Verbal Learning) จะเกิดขึ้นได้หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีมาก่อน นอกจากนั้น (Bruner, 1965) ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กว่า เด็กเริ่มต้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) ต่อไปจึงจะสามารถสร้างจิตนาการหรือสร้างภาพในใจหรือในความคิดขึ้นได้ (Symbolic Stage) ส่วนกาเย่ (Gagne,1965) ได้อธิบายเกี่ยวกับผลของการเรียนรู้ของมนุษย์ว่ามี 5 ประเภท คือ
1.      ทักษะทางปัญญา (Intellectual Skills) ซึ่งประกอบด้วยทักษะย่อย 4 ระดับ คือ การจำแนกการสร้างความคิดรวบยอด การสร้างกฎ และการสร้างกระบวนการหรือกฎขั้นสูง
2.      กลวิธีในการเรียนรู้ ( Cognitive Strategies) ประกอบด้วยกลวิธีการใส่ใจ การรับและทำความเข้าใจข้อมูล การดึงความรู้จากความทรงจำ การแก้ปัญหา และกลวิธีการคิด
3.      ทักษะทางภาษา (Verbal Information)
4.      ทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skills)
5.      เจตคติ (Attiude

กลวิธีในการสอน

ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนกับการสอน

                จากความหมายของคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น จะให้ได้ว่า การเรียนกับการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เดียวกัน คือ การสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การสอนเกิดขึ้นจากตัวผู้สอนหรือครู แต่การเรียนรู้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป (หมายรวมเฉพาะการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ให้เกิดขึ้น มีการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า)

รูปแบบการจัดกระบวนการการเรียนการสอน

            ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน มีจุดมุ่งหมายหลักคือ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ตามที่ได้กำหนดไว้ (รายละเอียดเรื่องจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ได้เสนอไว้ในหัวข้อของแผนการสอน) โดยมุ่งหวังในภาพรวมที่จะให้ผู้เรียนเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว จะมีคุณลักษณะที่สำคัญ 3  ประการ คือ เป็นคนเก่ง เป็นคนดี และเป็นคนที่มีความสุข ซึ่งในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าวนั้น การจัดกระบวนการเรียนการสอนจะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
           

รูปแบบการจัดกระบวนการการเรียนการสอน

            ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน มีจุดมุ่งหมายหลักคือ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ตามที่ได้กำหนดไว้ (รายละเอียดเรื่องจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ได้เสนอไว้ในหัวข้อของแผนการสอน) โดยมุ่งหวังในภาพรวมที่จะให้ผู้เรียนเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว จะมีคุณลักษณะที่สำคัญ 3  ประการ คือ เป็นคนเก่ง เป็นคนดี และเป็นคนที่มีความสุข ซึ่งในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าวนั้น การจัดกระบวนการเรียนการสอนจะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
            1. เป็นกระบวนการทางปัญญา พัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. บูรณาการสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้อง
4. เป็นกระบวนการคิด การปฏิบัติจริง นำไปใช้ประโยชน์ได้
5. เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีผู้เรียน ผู้สอนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้

พระราชพิธีที่สำคัญ

เรื่องพระราชพิธี ๑๒ เดือน
พระราชพิธีซึ่งมีสำหรับพระนคร ที่ได้เคยประพฤติมาแต่ก่อนถึงปัจจุบันนี้ อาศัยที่มาเป็น 2 อย่าง อย่างหนึ่งมาตามตำราไสยศาสตร์ที่นับถือพระเป็นเจ้า อิศรว นารายณ์ อย่างหนึ่งมาตามพระพุทธศาสนา แต่พิธีที่มาจากต้นเหตุทั้งสองอย่างนี้ มาคละระคนกันเป็นพิธีอย่างหนึ่งขึ้นก็มี ด้วยอาศัยเหตุที่แต่เดิมพระเจ้าแผ่นดินและชาวพระนครถือศาสนาพราหมณ์ การใดๆ ซึ่งนับว่าเป็นศรีสวัสดิมงคลแก่พระคนรตามคัมภีร์ไสยศาสตร์ก็ประพฟติเป็นราชประเพณีสำหรับพระนครตามแบบอย่างนั้น ครั้นเมื่อภายหลังพระเจ้าแผ่นดินและราษฎรนับถือพระพุทธศาสนา ถึงว่าพระพุทธศาสนาที่เป็นต้น เดิมแท้ไม่มีฤกษ์ภาพิธีรีตองอันใด ด้วยพระพุทธเจ้าย่อมตรัสว่าฤกษ์ดี ยามดี ครู่ดี ขณะดี การบูชาเซ่นสรวงดี ทั้งปวงย่อมอาศัยความสุจริตในไตรทวาร ถึงแม้ว่าการซึ่งจะเป็นมงคลและเป็นอวมงคลก็ดี ก็อาศัยที่ชนทั้งปวงประพฤติการสุจริตทุจริตเป็นที่ตั้ง เพราะฉะนั้น การพระราชพิธีใดๆ ซึ่งเกี่ยวข้องเจือปนในอยู่ในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีคำอ้างมาว่าตามทางพุทธศาสนานับเอาเป็นคู่ไสยศาสตร์นั้น จะอ้างว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติหรือแนะนำไว้ให้ทำนั้นไม่ได้ มีอย่างเดียวแต่การพระราพิธีทั้งปวง บางอย่างต้องกับคำที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญ บางอย่างต้องกับคำที่พระพุทธเจ้าตรัสติเตียนเมื่อว่าโดยย่อแล้ว การอันใดที่เป็นสุจริตในไตรทวาร พระพุทธเจ้าก็ตรัสสรรเสริญ การสิ่งนั้นว่าเป็นดี การสิ่งใดที่เป็นทุจริตก็ย่อมทรงติเตียนว่าการสิ่งนั้นเป็นการชั่ว เพราะฉะนั้นการพระราชพิธีที่อ้างว่าตามพระพุทธศาสน์นั้นควรจะต้องเข้าใจว่า เป็นแต่อย่างประพฤติของผู้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาได้ประพฤติมาแต่ก่อน การที่ประพฤตินั้นไม่เป็นการมีโทษที่พระพุทธเจ้าจะพึงติเตียน การพระราชพิธีเช่นนี้นับว่าเป็นการมาตามทางพุทธศาสน์
            แต่ส่วนพระราชพิธีซึ่งคละปะปนทั้งพุทธศาสน์และไสยศาสตร์นั้น ก็เกิดขึ้นด้วยเดิมทีพระเจ้าแผ่นดินและราษฎรนับถือศาสนาพราหมณ์ดังว่ามาแล้ว ครั้นเมื่อได้รับพระพุทธศาสนามาถือ พระพุทธศาสนาไม่สู้เป็น
ปฏิปักษ์คัดค้านกันกับศาสนาอื่น ๆ เหมือนศาสนาพระเยซูหรือศาสนามะหะหมัด พระพุทธเจ้ามีพิธีประสงค์อย่างเดียว แต่ที่จะแสดงเหตุที่เป็นจริงอยู่อย่างไร และทางที่จะระงับดับทุกข์ได้ด้วยอย่างไร ตามซึ่งพระองค์ตรัสรู้ด้วยพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ไม่พยากรณ์กล่าวแก้ในถ้อยคำความเห็นของชนทั้งปวงที่กล่าวแก่งแย่งงกันอยู่ต่างๆ ด้วยเห็นไม่เป็นประโยชน์อันใดซึ่งสมควรจะนับถือลัทธิไสยศาสตร์ แต่ผู้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาในชั้นหลังซึ่งยังไม่ได้บรรลุมรรคผล ย่อมมีความหวาดหวั่นสะดุ้งสะเทือนด้วยภัยอันตรายต่างๆ และมีความปรารถนาต่อความเจริญรุ่งเรืองแรงกล้า เมื่อได้เคยประพฤตินับถือกลัวเกรงพระเป็นเจ้าและเทพยดา ซึ่งว่ามีฤทธิ์อำนาจอาจจะลงโทษแก่ตนและผู้อื่นได้ในเหตุซึ่งมิใช่เป็นความยุติธรรมแท้ คือบันดาลให้เกิดไข้เจ็บต่างๆ โดยความโกรธความเกลียดว่าไม่เคารพนบนอบบูชาตน หรืออยู่ดีๆ สบใจร้ายขึ้นมาก็ทำพิษสงให้คนทั้งปวงลำบากด้วยความเจ็บไข้กันดารด้วยเสบียงอาหารเป้นต้น จึงได้คิดทำการบุชาเซ่นสรวงให้เป็นเครื่องป้องกันความผิด อันผู้มีอำนาจมีใจเช่นนั้นจะถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทไม่เคารพนบนอบ หรือประจบประแจงไว้จะได้สบายๆ ใจไม่มีร้ายขึ้นมา ความเชื่อถือมั่นหมายในการอย่างนี้มีฝังอยู่ในใจคนทั้งปวงสืบลูกหลานสิบชั่วคน และอาศัยเหตุผลซึ่งเป็นการเผอิญเป็นไปเฉพาะถูกคราวเข้ามีอยู่เนื่องๆ เป็นเครื่องประกอบให้คิดเห็นว่าเป็นเพราะผีสางเจ้านายกริ้วโกรธเช่นกล่าวมาแล้ว จึงทำให้ความหวาดหวั่นกลังเกรงนั้นไม่ขาดสูญไปได้ เมื่อมีความกลัวอันตรายอยู่ดังนี้แล้ว ส่วนความปรารถนาจะยากดีอยากสบายนั้นแรงกล้า ก็ชักพาให้หันเข้าหาควาอ้อนวอนของร้องเซ่นสรวงบูชาให้ช่วยแรงเข้าอีกตามความปรารถนาอันแรงกล้า ด้วยเหตุดังนี้แล ถึงแม้ว่าคนไทยถือพระพุทธศาสนาก็ยังหาอาจที่จะละทิ้งการบูชาเซ่นสรวงไปได้ไม่ การพระราชพิธีตามไสยศาสตร์จึงไม่ได้เลิกถอน เป็นแต่ความนับถือนั้นอ่อนไป ตกอยู่ในทำไว้ดีกว่าไม่ทำ ไม่เสียหายอันใดนัก
            แต่การพิธั้งปวงนั้นก็ย่อมเลือกฟั้นแต่การสุจริตในไตรทวารไม่รับลัทธิ ซึ่งเป็นการทุจริตของพวก
พรามหณ์ฮินดูบางพวก ซึ่งมีลัทธิร้ายกาจ เช่น ฆ่าสัตว์บูชายัญเป็นต้น มาถือเป็นธรรมเนียมบ้านเมืองให้เป็นการขัดขวางต่อพระพุทธศาสนา และการพระราชพิธีอันใดซึ่งมีแต่พิธีพราหมณ์อย่างเดียว ก็ย่อมเพิ่มเติมการพระราชกุศลซึ่งเป็นการทานมัย ศีลมัย ภาวนามัย เจือปนเข้าในพระราชพิธีนั้นยกเป็นต้นเหตุ การบูชาเซ่นสรวงเทพยดาพระอิศรว พระนารายณ์ เป็นต้น เปลี่ยนลงไปเป็นปลายเหตุทำไปตามเคย ตกอยู่ในเคยทำมาแล้วก็ทำดีกว่าไม่ทำ และการที่ทำนั้นก็ไม่เป็นการมีโทษอันใด และไม่เปลืองเบี้ยหอยเงินทองอันใดมากนัก ซึ่งกล่าวมาทั้งปวงนั้นทำสำหรับประโยชน์อันใด และเพื่อว่าผู้มีความสงสัย ว่าพระเจ้าแผ่นดินและราษฎรก็ถือพระพุทธศาสนา เหตุใดจึงทำพิธีตามลัทธิไสยศาสตร์อยู่ความดำริของท่านผู้ปกครองแผ่นดินมาแต่ก่อนคิดเห็นการดังเช่นกล่าวมานี้แล จึงยังได้ทำการพระราชพิธีทั้งปวงซึ่งเป็นการสำหรับพระนครสืบมา
            ก็แลพระราชพิธีที่มีมาในพระราชกำหนดกฎมนเทียรบาลซึ่งได้ตั้งขึ้นแต่แรกสร้างกรุงทวาราวดีศรีอยุธยาโบราณ แสดงพระราชพิธีประจำเดือน ๑๒ เดือนไว้ ว่าเป็นการซึ่งพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทำว่าเป็นการเป็นมงคลสำหรับพระนครทุกปีมิได้ขาดนั้น คือ
เดือนห้า             การพระราชพิธีเผด็จศึก ลดแอกออกสนาม
เดือนหก            พิธีไพศาขย์ จรดพระนังคัล
เดือนเจ็ด            ทูลน้ำล้างพระบาท
เดือนแปด          เข้าพรรษา
เดือนเก้า            ตุลาภาร
เดือนสิบ            ภัทรบทพิธีสารท
เดือนสิบสอง      อาศยุชยแข่งเรือ
เดือนอ้าย           ไล่เรือ เถลิงพิธีตรียัมพวาย
เดือนยี่               การพิธีบุษยาภิเษก เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
เดือนสาม           การพิธีธานยเทาะห์
เดือนสี่              การพิธีสัมพัจฉรฉินท์

ชีวิตควรเป็นเช่นนี้

                                                                                            กฎแห่งกรรม

                หลักกรรมหรือกฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า บุคคลทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาย่อมต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นแต่เนื่องจากกรรมบางอย่างหรือการกระทำบางคราวไม่มีผลปรากฏชัดในทันที ผู้มีปัญญาน้อยจึงมองไม่เห็นผลแห่งกรรมของตน ทำให้สับสนและเข้าใจไขว้เขว เพราะบางทีกำลังทำชั่วอยู่แท้ ๆ มีผลดีมากมาย เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หลั่งไหลเข้ามาในชีวิต ตรงกันข้ามบางคราวกำบังทำความดีอยู่อย่างมโหฬาร แต่กลับได้รับความทุกข์ทรมานต่าง ๆ มีผลไม่ดีมากมาย เช่น ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้ายถูกสบประมาท และความเจ็บไข้ได้ป่วยหลั่งไหลเข้ามาในชีวิต
                ความสลับซับซ้อนดังกล่าว ทำให้ผู้รับผลของกรรมสับสน เกิดความไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความชั่วจริง ๆ หรือ ?
                ตามความเป็นจริงแล้ว กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ทันให้ผล กรรมดีที่เขาเคยทำไว้ก่อนถึงวาระให้ผลในขณะที่คนผู้นั้นกำลังทำชั่วอยู่ จึงทำให้เขาได้รับผลดีถ้าเปรียบทางวัตถุก็จะมองเห็นง่ายขึ้น เช่นคน ๆ หนึ่งกำลังปลูกต้นไม้อันเป็นพิษอยู่ มีผลไม้หอมหวานอร่อยสุกมากมายในสวนของเขา  เขาได้ลิ้มรสอันอร่อยของผลไม้ซึ่งเขาปลูกไว้ก่อน ต่อมาต้นไม้มีพิษออกผลในขณะที่เขากำลังปลูกต้นไม้ที่มีผลอร่อยอยู่ เขาบริโภคผลไม้มีพิษ รู้สึกได้รับทุกเวทนาข้อนี้ฉันใด กรรมกับผู้กระทำกรรมก็ฉันนั้น กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว แต่เพราะกรรมจะให้ผลก็ต่อเมื่อสุกเต็มที่แล้ว (Maturation) และมีความสลับซับซ้อนมาก จึงทำให้งง ทั้งนี้ สามเหตุหนึ่งก็เพราะสติปัญญาของคนทั่วไปมีอยู่อย่างจำกัดมาก เหมือนแสงสว่างน้อย ๆ ไม่พอที่ส่องให้เห็นวัตถุอันสลับซับซ้อนอยู่มากมายในบริเวณอันกว้างใหญ่และบริเวณนั้นถูกปกคลุมอยู่ด้วยความมืด เมื่อใดดวงปัญญาของเขาแจ่มใสขึ้น เขาย่อมมองเห็นตามเป็นจริง ปัญญาของเขายิ่งแจ่มใสขึ้นเพียงใดเขาย่อมสามารถมองเห็นเรื่องกรรมและความสบับซับซ้อนของชีวิตมากขึ้นเพียงนั้น เหมือนแสงสว่างมีมากขึ้นเพียงใด ผู้มีจักษุปกติย่อมสามารถมองเห็นวัตถุอันละเอียดมากขึ้นเพียงนั้น
                สิ่งใดที่ละเอียดมาก เช่น จุลินทรีย์ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนักวิทยาศาสตร์เขาใช้เครื่องมือคือกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอานุภาพขยายเป็นพัน ๆ เท่าของวัตถุจริง จึงทำให้มองเห็นได้ สิ่งใดอยู่ไกลมากระยะสายตาธรรมดาไม่อาจทอดไปถึงได้นักวิทยาศาสตร์เขาใช้กล้องส่องทางไกล จึงสามารถมองเห็นได้เหมือนวัตถุซึ่งปรากฏอยู่ ณ ที่ใกล้ข้อนี้ฉันใด
                ผู้ได้อบรมจิตและปัญญาแล้วก็ฉันนั้น เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิต สามารถเห็นได้ละเอียดรู้ได้ไกลซึ่งเรื่องกรรมและผลของกรรม ชนิดที่สามัญชนมองไม่เห็นหรือมองให้เห็นได้โดยยาก ทั้งนี้ เพราะท่านมีเครื่องมือคือปัญญาหรือญาณสามัญชนไม่มีปัญญาหรือญาณเช่นนั้นจึงมองไม่เห็นอย่างที่ท่านเห็น เมื่อท่านบอกให้บากคนก็เชื่อตาม บางคนไม่เชื่อ ใครเชื่อก็เป็นประโยชน์แก่เขาเองทั่งด้านการดำเนินชีวิตและจิตใจ หาความสุขได้เอง
                ผู้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ได้กำไรกว่าผู้ไม่เชื่อคือทำให้เว้นชั่ว ทำดีได้มั่นคง ยั่งยืนกว่าผู้ไม่เชื่อ ทำให้เป็นคนดีในโลกนี้ จากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบีนเทิงในโลกหน้าเมื่อประสบปัญหาชีวิตอันแสบเผ็ดก็สามารถทำใจได้ว่า มันเป็นผลของกรรมชั่วเมื่อประสบความรื่นรมย์ในชีวิตก็ไม่ประมาท มองเห็นผลแห่งกรรมดีและหาทางพอกพูนกรรมดีต่อไป